Digital Forensics Part 1 — Evidence Acquisition

WIRAPONG PETSHAGUN
4 min readMay 28, 2020

--

Evidence Acquisition

สำหรับบทความนี้จะเน้นเกี่ยวกับพื้นฐานเกี่ยวกับการเก็บหลักฐานที่ใช้ในการทำ Digital Forensics and Incident Response ด้านเคสการโจมตีทาง Cyber Security เป็นหลัก **ซึ่งหากเรื่องเคสที่จะต้องใช้หลักฐานในศาลจะมีขั้นตอนและรายละเอียดของขั้นตอนการเก็บหลักฐานที่แตกต่างจากนี้โดยสมควร

Overview

ประเภทของหลักฐาน

สำหรับประเภทของหลักฐานที่ใช้หลักๆ จะมี 2 ประเภท

  • Volatile (หน่วยความจำชั่วคราว) : หน่วยความจำประเภทที่จะต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา หากไม่มีไฟฟ้าเลี้ยงข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะหายไป ยกตัวอย่างเช่น RAM
  • Non-volatile (หน่วยความจำถาวร) : เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ แม้จะไม่มีไฟเลี้ยง ยกตัวอย่างเช่น Harddisk (HDD) , Solid State Drive (SSD), Flash, USB Thumb drive

ข้อควรปฎิบัติทั่วไปในการเก็บหลักฐาน และวิเคราะห์หลักฐาน

  • ไม่ควรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลักฐานในขั้นตอนการเก็บ เนื่องจากอาจทำให้กระทบต่อขั้นตอนการวิเคราะห์หลักฐานได้ หากมีก็ควรทำให้น้อยที่สุด และในขั้นตอนการวิเคราะห์หลักฐานจะต้องมีการป้องกันไม่ให้มีการเขียนข้อมูลอะไรก็ตามลงบนหลักฐาน
  • การเก็บและควบคุมการเข้าถึงหลักฐาน จะต้องมีขั้นตอนการจัดการหลักฐานอย่างชัดเจน ตั้งแต่การเก็บหลักฐาน จนไปถึงการร้องขอหลักฐาน โดยการเก็บบันทึกข้อมูลผู้ที่ได้หลักฐาน (COC) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูล
  • ควรระวังการใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานที่ Sensitive ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูล

อุปกรณ์ในการเก็บหลักฐาน

อุปกรณ์ในการเก็บหลักฐาน หลักๆมี 2 อย่าง

Write Blocker

Write Blocker : ใช้สำหรับป้องกันการเขียน โดยจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลักฐาน (โดยส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่ต้องการนำหลักฐานที่เก็บในรูปแบบ Disk มาวิเคราะห์)

DIsk Duplicator
  • Disk Duplicator : ใช้สำหรับการสำเนาหลักฐาน (โดยส่วนมากใช้ในการสำเนาหลักฐานในรูปแบบของ Disk to disk)

วิธีการเก็บหลักฐานประเภท Non-volatile (Disk)

การเก็บหลักฐานเพื่อนำไปวิเคราะห์นั้น จะต้องเก็บโดยการสำเนาแบบ Bit by bit คือจะต้องเก็บทุก Bit ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะถูกใช้หรือไม่ก็ตาม​

จะต้องสำเนาแบบ Bit by bit เพื่อให้มีความสามารถในการวิเคราะห์หลักฐานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์หลักฐานได้ทั้ง Allocated space, Unallocated space, Slack space (ในส่วนของประเภทของ Space จะมีอธิบายในบทความหน้า)

โดยมีวิธีการเก็บหลักฐานอยู่สองแบบคือ

  • Disk to disk : เป็นการเก็บหลักฐานโดยทำการสำเนาจาก Disk ต้นทาง ไปยัง Disk ปลายทาง (หากเก็บจาก Physical Disk เป็นลูก จะต้องใช้ Disk Duplicator เพื่อไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลักฐาน)
  • Disk to image : เป็นการเก็บหลักฐานโดยทำการสำเนาจาก Disk ต้นทาง ไปเป็นไฟล์ Disk Image (Raw, E01,..) ลงบนปลายทาง (โดยทั่วไปการเก็บโดยวิธีนี้จะใช้ Software ในการเก็บหลักฐานเป็นไฟล์ Disk Image)

การเก็บหลักฐานบนระบบปฎิบัติการ Windows

โดยทั่วไปหากเกิด Cyber Incident แล้วจะต้องรีบเข้าไปเก็บหลักฐานทันที เพื่อที่จะเก็บหลักฐานในขณะที่ยังเกิดพฤติกรรมผิดปกติซึ่งเกิดจากการโดนโจมตีอยู่ ซึ่งจะทำให้มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์

จะยกตัวอย่างการเก็บหลักฐานบน Windows โดยการใช้ FTK Imager Lite ซึ่งเป็นโปรแกรมเก็บหลักฐาน โดยสามารถเก็บได้ทั้ง Harddisk,Memory โดยทำงานในรูปแบบของ Portable สามารถ Run ได้โดยที่ไม่ต้อง Install ลงบนเครื่อง สามารถ Download ได้ที่ FTK Imager Lite

โดยเราจะมาเตรียมตัวก่อน

  1. เตรียมตัว โดยก่อนอื่นเราจะนำโปรแกรม FTK Imager Lite ไปไว้บน External Storage เช่นพวก Frash Drive, External SSD ที่จะใช้ในการเก็บหลักฐาน เพื่อป้องกันการเขียนลงบนหลักฐานต้นฉบับ **External Storage จะต้องมีพื้นที่มากพอที่จะสามารถเก็บหลักฐานได้
  2. เสียบ Portable Device ที่เราเตรียมมา ลงบนเครื่องที่ต้องการเก็บหลักฐาน
  3. จะเริ่มจากการเก็บ Volatile (Memory) ก่อนเพื่อเก็บ State ต่างๆที่ Run อยู่ให้เร็วที่สุด จากนั้นค่อยทำการเก็บ Non-Volatile (Disk)

เก็บหลักฐานประเภท Volatile (Memory)

มีขั้นตอนการเก็บหลักฐานดังนี้

  1. Run โปรแกรม FTK Imager Lite ด้วยสิทธิ์ Administrator โดยการคลิกขวา > Run as Administrator
  2. เลือกที่ File > Capture memory (ตามภาพด้านล่าง)
Capture memory

2. เลือก Destination path ว่าจะทำการเก็บ Memory ไปที่ไหน โดยเลือกบน External Storage เพื่อป้องกันการเขียนลงบนหลักฐานต้นฉบับ แล้วคลิกที่ Capture Memory

Select destination path

3. รอจนเสร็จ จากนั้นคลิกที่ Close ก็จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการเก็บหลักฐานประเภท Volatile

Memory capture finished
Memdump file

เก็บหลักฐานประเภท Non-volatile (Harddisk,SSD,..) แบบ Disk to image

มีขั้นตอนการเก็บหลักฐานดังนี้

  1. Run โปรแกรม FTK Imager Lite ด้วยสิทธิ์ Administrator โดยการคลิกขวา > Run as Administrator
  2. ทำการเริ่มเก็บ Disk โดยเลือกที่ File > Create Disk Image… (ตามภาพด้านล่าง)
Create Disk Image…

3. เลือกประเภทของ Source Evidence ว่าเราจะเก็บแบบไหน ซึ่งหลักๆแล้วจะใช้อยู่สองแบบคือ Physical Drive กับ Logical Drive (Drive C, Drive D,..) จากนั้น Next

Source Evidence Type

4. เลือก Drive ที่ต้องการเก็บ จากนั้น Finish

Source Drive Selection

5. ในขั้นตอนนี้จะต้องทำการเลือกว่าจะเก็บไฟล์ Image ไว้ที่ไหน คลิกที่ Add…

Add Destination

6. ให้เลือกประเภทของ Image โดยส่วนมากจะนิยมใช้ Raw, E01, AFF กัน ซึ่งข้อแตกต่างหลักๆก็จะเป็นในส่วนของเรื่องความสามารถในการบีบอัด (Compression) และ Metadata ต่างๆ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Category:Forensics File Formats หลังจากที่เลือกแล้วคลิกที่ Next >

Select Image Type

7. ใส่รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ Evidence นี้ จากนั้น Next >

Evidence Information

8. ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ Image ที่เราจะทำการเก็บหลักฐานดังนี้
8.1 Image Destination Folder : เลือกปลายทางที่จะใช้ในการเก็บ Evidence **โดยจะเลือกปลายทางเป็น External Storage ของเรา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเขียนข้อมูลลงบนหลักฐานต้นทางที่เราจะเก็บ
8.2 Image Filename : ตั้งชื่อไฟล์ Image โดยไม่ต้องใส่นามสกุลไฟล์
8.3 Image Fragment Size : หากต้องการทำ Fragment ให้ใส่ Size ของ Image ที่ต้องการแบ่งในแต่ละ Fragment แต่หากไม่ต้องการทำ Fragment ให้ใส่ 0
8.4 Compression : เลือกระดับของการบีบอัดไฟล์ Image โดยหากต้องการให้บีบอัดให้ไฟล์ Image ให้มีขนาดเล็ก จะต้องใช้เวลาในการบีบอัดที่นานในการเก็บหลักฐาน (เลือกได้ตั้งแต่ 0–9)
8.5 Use AD Encryption : หากต้องการให้ทำ Encryption ไฟล์ Image ด้วยให้ติ๊กถูก

หลังจากใส่ข้อมูลต่างๆเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ Finish

Select image destination

9. จะเห็นว่ามี Image Destination ขึ้นมาแล้ว หากเราต้องการเก็บ Evidence ลงไปหลายๆที่ก็สามารถกด Add ต่อได้ จากนั้น ให้เลือก Verify images after they are created หากต้องการทำ Verify หลักฐาน โดยจะมีการทำ Hashing และเทียบค่า Hash ของหลักฐาน กับไฟล์ Image ว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ เพ่ือเช็คความสมบูรณ์ถูกต้องของหลักฐานที่เก็บมา ( Integrity ) จากนั้นคลิกที่ Start

Start to create image

10. เมื่อคลิกที่ Start แล้วจะเข้าสู่การเก็บหลักฐานโดยสร้าง Image ไฟล์ลงบน Device ปลายทางให้รอจนเสร็จ

Creating image…

11. หลังจากเก็บหลักฐานเป็นไฟล์ Image เสร็จก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการ Verify หลักฐานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ (ในกรณีที่เลือก Verify images after they are created ในขั้นตอนที่ 11)

Verifying..

12. เสร็จแล้วจะขึ้นผลของการ Verify Evidence ว่าข้อมูลหลักฐานกับ Image file ตรงกันหรือไม่ รวมถึงมีการหา Bad sector ให้คลิกที่ Close

Bad sector : คือพื้นที่บน Disk ในส่วนที่มีความเสียหาย ไม่สามารถใช้งานหรือเก็บข้อมูลได้้ ซึ่งโดยปกติทั่วไปหากพบ Bad sector บนหลักฐานที่พบ โปรแกรมเก็บหลักฐานจะทำการแทนที่ข้อมูลที่อยู่บนส่วนนั้นด้วยค่า 0 แทน

Verify Image

13. จะขึ้น Status ว่าได้ทำการสร้างไฟล์ Image เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการกดที่ Close ก็จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการเก็บหลักฐานประเภท Non-volatile โดยจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 2ไฟล์ โดยประกอบไปด้วยไฟล์ Image ของหลักฐานที่เก็บมา และไฟล์ที่บอกเกี่ยวกับข้อมูลของ Image ที่เก็บมา

Image created successfully
Image file

--

--

WIRAPONG PETSHAGUN
WIRAPONG PETSHAGUN

Written by WIRAPONG PETSHAGUN

Security researcher @Huntsman @0xZero

No responses yet